16169 จำนวนผู้เข้าชม |
คุณภาพ บ้านจะดีหรือไม่ดี สามารถประหยัดพลังงานได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับวิธีการก่อสร้าง ความชำนาญงานของช่าง เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติ คุณภาพของบ้าน ที่สร้างด้วยอิฐมวลเบา และอิฐมอญก่อ 2 ชั้น (มีช่องว่างตรงกลาง) แยกเป็นประเด็นได้ดังนี้ (ดูตาราง ประกอบ)
คุณสมบัติทางกายภาพ อิฐ มวลเบา หนา 10 เซนติเมตร เมื่อรวมน้ำหนักวัสดุรวมปูนฉาบจะหนัก 120กิโลกรัม ในขณะที่อิฐมอญก่อ 2 ชั้น (เว้นช่องว่างตรงกลาง) จะหนัก 180 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักของการก่ออิฐมอญจะมากกว่าทำให้ต้องเตรียมโครงสร้างเผื่อกันรับ น้ำหนักในส่วนนี้ด้วย ทำให้ต้นทุนโครงสร้างเพิ่มขึ้น
การกันความร้อนหาก เป็นกรณีปกติ “อิฐมวลเบา”จะมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำกว่าอิฐมอญ ประมาณ 8-11 เท่า แต่การก่อผนังภายนอกอิฐจะต้องมีความหนา 10 เซนติเมตร และผนังภายในหนา 7 เซนติเมตร ขึ้นไป จึงจะสามารถกันความร้อนได้ดี แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ตัวช่องว่างตรงกลาง จะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี และอิฐแถวด้านในไม่สัมผัสความร้อนโดยตรง จึงทำให้คุณสมบัติตรงนี้ของอิฐมอญจะมีความสามารถในการกันความร้อนได้ดีกว่า แต่การเว้นช่องว่างไม่ควรต่ำกว่า 5 เซนติเมตร
การกันเสียง ปกติ อิฐมวลเบาจะกันเสียงได้ดีกว่าอิฐมอญประมาณ 20% แต่ในกรณีใช้อิฐมอญ ก่อ 2 ชั้น ช่องว่างตรงกลางจะทำหน้าเป็นฉนวนกันเสียงได้ดีกว่าเกือบ 2 เท่า แต่อิฐมวลเบาจะลดการสะท้อนของเสียงได้ดีกว่า
การกันไฟ อิฐมอญก่อ 2 ชั้นมีฉนวนตรงกลาง (ช่องว่างตรงกลาง) จะกันไฟได้ดีกว่าอิฐมวลเบาเล็กน้อย
ความแข็งแรง การใช้งานทั่วไปไม่ต่างกัน แต่ผนังอิฐมอญจะเหมาะสำหรับการใช้วัสดุกรุผนังที่มีน้ำหนักมาก เช่น หินแกรนิต หรือหินอ่อน
การก่อสร้าง ความ เรียบร้อยของการก่ออิฐมอญจะขึ้นอยู่กับฝีมือในการก่อให้ได้แนวดิ่งของช่าง ก่อ หากก่อไม่ได้แนวดิ่งและการฉาบความหนาของปูนไม่สม่ำเสมอ อาจจะทำให้ปูนฉาบเกิดการแตกร้าวได้ ใช้เวลาก่อนานกว่าเนื่องจากมีขนาดเล็ก รวมถึงขั้นตอนการเตรียมและจัดเก็บวัสดุซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียวัสดุจาก การก่อสร้างไปมากพอสมควร ในขณะที่อิฐมวลเบาการสูญเสียวัสดุจะน้อยกว่า เพราะขั้นตอนการทำงานง่ายกว่า และวัสดุมีขนาดใหญ่แต่ละก้อนได้มาตรฐานเดียวกัน มีน้ำหนักเบาทำให้ก่อสร้างได้รวดเร็วและเรียบร้อยกว่า
ราคาวัสดุและค่าแรง เมื่อ เทียบราคาวัสดุบวกค่าแรงต่อตารางเมตร อิฐมวลเบาหนา 10 เซนติเมตร ราคาเฉลี่ยประมาณ 360-400 บาท/ตารางเมตร ส่วนอิฐมอญก่อ 2 ชั้น (เว้นช่องว่างตรงกลาง) ราคาจะอยู่ที่ ประมาณ 400-420 บาท/ตารางเมตร
นอกจากนี้การก่ออิฐมอญ 2 ชั้น หากก่อกินพื้นที่ด้านในมาก จะทำให้พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านลดลง แต่ปกติโดยทั่วไปช่างจะก่อเต็มหน้าเสา
เปรียบเทียบลักษณะคุณสมบัติอิฐมอญกับคอนกรีตมวลเบา Q-CON
ข้อเปรียบเทียบคุณสมบัติวัสดุ | อิฐมอญ | คอนกรีตมวลเบา Q-CON |
ราคา | - | - |
โครงสร้างบล็อค | ตัน | กลวง |
ก่อผนังเป็นผนังรับแรง | ไม่ได้ | ได้ |
การดูดซึมน้ำ | สูง | ปานกลาง |
ความหนาของปูนก่อระหว่างก้อน | 1.5 เซนติเมตร | 2.3 มิลลิเมตร |
ความหนาของปูนที่ฉาบ | 20-25 มิลลิเมตร | 10 มิลลิเมตร |
น้ำหนักวัสดุ (กก./ตร.ม.) | 130 | 45 |
น้ำหนักผนังรวมฉาบปูน 2 ด้าน (กก./ตร.ม.) | 180 | 90 |
จำนวนใช้งานต่อ 1 ตร.ม. (ก้อน/ตร.ม.) | 130 – 145 | 8.33 |
ค่ากำลังอัด ( Compressive Strength ) (กก./ตร.ซม.) | 15 – 40 | 30 – 80 |
ค่าการนำความร้อน ( Thermal Conductivity ) ( วัตต์/ม.เคลวิน ) | 1.15 | 0.13 |
ค่าการถ่ายเทความร้อนรวม OTTV ( วัตต์/ตร.ม. ) | 58 – 70 | 32 – 42 |
อัตราการกันเสียง ( STC Rating ) ( เดซิเบล ) | 38 | 43 |
อัตราการทนไฟ ( Fire Rating ) (ความหนา 10 เซนติเมตร) | 2 | 4 |
ความเร็วในการก่อ ( ตร.ม./วัน ) | 6-12 | 15-25 |
เปอร์เซ็นต์สูญเสีย / แตกร้าว | 10 – 30 % | 0 – 3 % |
การติดตั้งวงกบประตู-หน้าต่าง | หล่อเสาเอ็นทับหลังและต้องมีค้ำยัน | ไม่ต้องเททับหลังและไม่ต้องมีค้ำยัน |